ReadyPlanet.com
dot dot
dot
ข้อมูลการประกอบธุรกิจ
dot
bulletข้อมูลเกี่ยวกับการจดทะเบียน
bulletข้อมูลเกี่ยวกับบัญชี
bulletแบบฟอร์มต่าง ๆ
bulletอื่น ๆ
dot
ติดต่อเรา
dot
bulletแผนที่สำนักงาน
dot
Link web
dot
bulletอัตราค่าแรงขั้นต่ำ
bulletอัตราดอกเบี้ย BOT
bulletอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา BOT
bulletอนุสัญญาภาษีซ้อน
bulletกรมสรรพสามิต
bulletกรมการค้าต่างประเทศ
bulletกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
bulletสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน)
bulletสมาคมผู้ตรวจสอบภายในแห่งประเทศไทย
bulletสภาทนายความ
bulletเนติบัณฑิตยสภา
bulletกรมศุลกากร
bulletส่งเสริม SME
bulletกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
dot
Member login
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
bullet สมัครสมาชิก
dot


สำนักงานประกันสังคม
กรมสรรพากร
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
สภาวิชาชีพบัญชี
ธนาคารแห่งประเทศไทย


บริษัทมหาชนจำกัด

การจดทะเบียนบริษัทมหาชนจำกัด
ลักษณะของบริษัทมหาชนจำกัด
        บริษัทมหาชนจำกัด คือ บริษัทประเภทซึ่งตั้งขึ้นด้วยประสงค์ที่จะเสนอขายหุ้นต่อประชาชน โดยผู้ถือหุ้นมีความรับผิดจำกัดไม่เกินจำนวนเงินค่าหุ้นที่ต้องชำระ และบริษัทดังกล่าวได้ระบุความ ประสงค์เช่นนั้นไว้ในหนังสือบริคณห์สนธิ
        อาจสรุปได้ว่า พ.ร.บ. บริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 ได้กำหนดลักษณะโครงสร้างของบริษัทมหาชนจำกัดไว้ ดังนี้
        1. จำนวนผู้ถือหุ้น มีผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 15 คนขึ้นไป
        2. ทุนจดทะเบียน ไม่มีการกำหนดจำนวนทุนจดทะเบียนขั้นต่ำไว้
        3. มูลค่าหุ้นและการชำระเงินค่าหุ้น หุ้นของบริษัทมหาชนจำกัดแต่ละหุ้นจะต้องมีมูลค่าเท่ากัน และต้องชำระค่าหุ้นครั้งเดียวเต็มมูลค่าหุ้น
        4. จำนวนกรรมการ ต้องมีจำนวนกรรมการของบริษัทไม่น้อยกว่า 5 คน และกรรมการไม่น้อย กว่ากึ่งหนึ่งต้องมีที่อยู่ในประเทศไทย

การจัดตั้งบริษัทมหาชนจำกัด

        การจัดตั้งบริษัทมหาชนจำกัด อาจดำเนินการโดยวิธีใดวิธีหนึ่ง ดังนี้
        1. การจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท เริ่มโดยบุคคลธรรมดาตั้งแต่ 15 คน ขึ้นไปดำเนินการ จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ แล้วดำเนินการจัดทำหนังสือชี้ชวนประชาชนให้ซื้อหุ้น หรือเมื่อผู้เริ่มจัดตั้งได้จองซื้อหุ้นทั้งหมดครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ในหนังสือบริคณห์สนธิแล้ว ก็จะเรียกประชุมจัดตั้งบริษัท หลังจากนั้นผู้เริ่มจัดตั้งจะต้องส่งมอบกิจการและเอกสารทั้งปวงให้แก่คณะกรรมการของบริษัทมหาชนจำกัดที่ได้รับเลือกตั้ง เพื่อนำความไปจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทต่อไป

ดูคำแนะนำขั้นตอนการจดทะเบียนตั้งบริษัทมหาชนจำกัด

        2. การแปรสภาพบริษัทเอกชนเป็นบริษัทมหาชนจำกัด บริษัทเอกชนอาจแปรสภาพเป็น บริษัทมหาชนจำกัดได้ เมื่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติพิเศษตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

ดูคำแนะนำขั้นตอนการแปรสภาพบริษัทเอกชนเป็นบริษัทมหาชนจำกัด


การควบบริษัท
        บริษัทมหาชนจำกัดตั้งแต่บริษัทสองบริษัทขึ้นไป หรือบริษัทมหาชนจำกัดกับบริษัทเอกชน จะควบกันเป็นบริษัทมหาชนจำกัดก็ได้ โดยที่ประชุมผู้ถือหุ้นของแต่ละบริษัทที่จะควบเข้ากันลงมติไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน โดยในกรณีที่เป็นการควบกับบริษัทเอกชนที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทเอกชนนั้น จะต้องมีมติพิเศษให้ควบกัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ขั้นตอนการจดทะเบียนควบบริษัทมหาชนกับบริษัทเอกชน

วิธีการจดทะเบียน
        วิธีการจดทะเบียนมีหลักเกณฑ์และวิธีการทั่วๆ ไป ทำนองเดียวกันกับการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนและบริษัท

สถานที่ยื่นคำขอจดทะเบียน

        การยื่นขอจดทะเบียนบริษัทมหาชนจำกัด ผู้ขอจดทะเบียนจะต้องยื่นคำขอจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สถานที่แห่งใดแห่งหนึ่ง ดังต่อไปนี้
        1. ยื่นต่อนายทะเบียน ณ ส่วนจดทะเบียนธุรกิจกลาง กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
        2. ยื่นต่อนายทะเบียน ณ สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัด ในจังหวัดที่สำนักงานใหญ่ของ บริษัทตั้งอยู่
        3. ส่งโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนถึงนายทะเบียน ณ ส่วนจดทะเบียนธุรกิจกลาง กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนบริษัทมหาชนจำกัด

        การจดทะเบียนบริษัทมหาชนจำกัด ผู้ขอจดทะเบียนต้องชำระค่าธรรมเนียมตามประเภทการจดทะเบียนต่าง ๆ ดังนี้
        1. การจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิบริษัท
            ทุกจำนวนเงินไม่เกิน 1,000,000 บาทแห่งจำนวนทุนที่จดทะเบียนไว้ 1,000 บาท
            เศษของ 1,000,000 บาท ให้คิดเป็น 1,000,000 บาท แต่เมื่อรวมกันแล้วไม่เกิน 50,000 บาท
        2. การจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิ
            เพื่อเพิ่มทุนก่อนจดทะเบียนเป็นบริษัท
            ทุกจำนวนเงินไม่เกิน 1,000,000 บาท แห่งจำนวนทุนที่กำหนดเพิ่มขึ้น 1,000 บาท
            เศษของ 1,000,000 บาท ให้คิดเป็น 1,000,000 บาท แต่เมื่อรวมกันแล้วไม่เกิน 50,000 บาท
        3. การจดทะเบียนบริษัท
            ทุกจำนวนเงินไม่เกิน 1,000,000 บาทแห่งจำนวนทุนที่กำหนดไว้ 1,000 บาท
            เศษของ 1,000,000 บาท ให้คิดเป็น 1,000,000 บาท แต่เมื่อรวมกันแล้วไม่เกิน 250,000 บาท
        4. การจดทะเบียนแปรสภาพบริษัทเอกชน
            ทุกจำนวนเงินไม่เกิน 1,000,000 บาท แห่งจำนวนทุนที่กำหนดไว้ 1,000 บาท
            เศษของ 1,000,000 บาท ให้คิดเป็น 1,000,000 บาท แต่เมื่อรวมกันแล้วไม่เกิน 50,000 บาท
        5. การจดทะเบียนเพิ่มทุนบริษัท ทุกจำนวนเงินไม่เกิน 1,000,000 บาท
            แห่งจำนวนทุนที่กำหนดเพิ่มขึ้น 1,000 บาท เศษของ 1,000,000 บาท ให้คิดเป็น
            1,000,000 บาท แต่เมื่อรวมกันแล้วไม่เกิน 250,000 บาท
        6. การจดทะเบียนลดทุนบริษัท 500 บาท
        7. การจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิบริษัท นอกจากกรณีเพิ่มทุนตาม 2. 500 บาท
        8. การจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับของบริษัท 500 บาท
        9. การจดทะเบียนตั้งกรรมการใหม่ คนละ 500 บาท
        10. การจดทะเบียนควบบริษัท 10,000 บาท
        11. การจดทะเบียนเลิกบริษัท 500 บาท
        12. การจดทะเบียนเรื่องอื่นๆเรื่องละ 500 บาท
        13. การออกใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน ฉบับละ 200 บาท
        14. การขอสำเนาหรือขอให้ถ่ายเอกสารพร้อมทั้งคำรับรอง หน้าละ 50 บาท ถ้าเป็นการขอสำเนาหรือ
              ขอถ่ายเอกสาร พร้อมทั้งคำรับรองของบริษัทนอกเขตจังหวัดอันเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของบริษัทนั้น
              ให้เรียกเก็บค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมได้เท่าที่จำเป็นและใช้จ่ายไปจริง
        15. การรับรองข้อความในใบทะเบียน เรื่องละ 40 บาท

หน้าที่ของบริษัทมหาชนจำกัด
        1. บริษัทต้องยื่นบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น วันประชุมสามัญประจำปีต่อนายทะเบียนภายใน 1 เดือน นับแต่วันเสร็จการประชุม
        2. บริษัทต้องจัดส่งรายงานประจำปี สำเนางบการเงิน สำเนารายงานการประชุมผู้ถือหุ้นเกี่ยวกับ อนุมัติงบการเงิน การจัดสรรกำไร และการแบ่งเงินปันผลไปยังนายทะเบียนภายใน 1 เดือน นับแต่วันที่ ที่ประชุมผู้ถือหุ้นอนุมัติงบการเงินนั้นและต้องโฆษณาทางหนังสือพิมพ์อย่างน้อย 1 วัน
        3. บริษัทต้องจัดทำป้ายชื่อไว้หน้าสำนักงานแห่งใหญ่และสำนักงานสาขา
        4. บริษัทต้องแสดงชื่อ ที่ตั้งสำนักงาน และเลขทะเบียนไว้ในจดหมายประกาศใบแจ้งความ ใบส่งของและใบเสร็จรับเงิน
        5. บริษัทต้องจัดทำใบหุ้นมอบแก่ผู้ถือหุ้นภายใน 2 เดือน นับแต่วันที่ได้รับจดทะเบียนเป็น บริษัทมหาชนจำกัด หรือนับแต่วันที่ได้รับเงินค่าหุ้นครบและได้จดทะเบียนเพิ่มทุนแล้ว
        6. บริษัทต้องจัดทำทะเบียนผู้ถือหุ้น ทะเบียนกรรมการ รายงาน การประชุมคณะกรรรมการ และรายงานการประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัท เก็บไว้ ณ สำนักงานแห่งใหญ่หรือเก็บไว้ที่บุคคลอื่นที่ได้แจ้งให้นายทะเบียนทราบแล้ว
        7. บริษัทต้องจัดทำและเก็บรักษา บัญชี งบดุล บัญชีกำไรขาดทุน รวมทั้งให้ผู้สอบบัญชี ตรวจสอบ และนำเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาอนุมัติ
        8. บริษัทต้องจัดส่งรายงานประจำปีของคณะกรรมการ งบดุล บัญชีกำไรขาดทุนที่ผู้สอบบัญชี ตรวจสอบแล้ว ให้ผู้ถือหุ้นพร้อมหนังสือนัดประชุมสามัญประจำปี
        9. บริษัทต้องโฆษณาทางหนังสือพิมพ์เกี่ยวกับเอกสารดังต่อไปนี้
                 9.1 หนังสือนัดประชุมตั้งบริษัท
                 9.2 หนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้น
                 9.3 การจ่ายเงินปันผล
                 9.4 งบดุลที่ผู้ถือหุ้นอนุมัติ
                 9.5 การเพิ่มทุนและลดทุน ภายหลังได้รับจดทะเบียนแล้ว

กิจการที่กฎหมายกำหนดระยะเวลาในการยื่นจดทะเบียน
        1. ส่งเอกสารการขายหุ้นหรือหุ้นกู้ต่อประชาชนให้นายทะเบียนภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ส่งให้ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
        2. ผู้เริ่มจัดตั้งบริษัทต้องส่งหนังสือนัดประชุม ระเบียบวาระการประชุม เอกสารที่จะให้ที่ประชุม จัดตั้งบริษัทพิจารณาให้สัตยาบันหรืออนุมัติ โดยมีผู้เริ่มจัดตั้งบริษัทสองคนรับรองว่าถูกต้องพร้อมด้วยร่าง ข้อบังคับของบริษัทไปยังนายทะเบียนไม่น้อยกว่า 7 วัน ก่อนวันประชุม
        3. ให้คณะกรรมการดำเนินการขอจดทะเบียนบริษัทภายใน 3 เดือน นับแต่วันประชุมจัดตั้ง บริษัทเสร็จ
        4. ให้คณะกรรมการดำเนินการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงทุนชำระ กรรมการ อำนาจกรรมการ สำนักงานแห่งใหญ่และสำนักงานสาขาของบริษัท ภายใน 14 วันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง
        5. บริษัทเพิ่มทุนหรือลดทุนได้ โดยนำมติที่ประชุมไปจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงทุนจดทะเบียน ภายใน
14 วัน นับแต่วันที่ที่ประชุมลงมติ
                 (1) จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงทุนชำระแล้ว (เพิ่มทุน) ภายใน 14 วัน นับแต่วันที่ได้รับชำระ เงินค่าหุ้นครบ
                 (2) จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงทุนชำระแล้ว (ลดทุน) ภายใน 14 วัน เมื่อพ้นกำหนดเวลาการ คัดค้าน
ของเจ้าหนี้
        6. จดทะเบียนควบบริษัท ภายใน 14 วัน นับแต่วันเสร็จสิ้นการประชุมร่วมกัน
        7. ผู้ชำระบัญชีต้องจดทะเบียนเป็นผู้ชำระบัญชี จดทะเบียนเลิกบริษัทและโฆษณาการเลิก บริษัททางหนังสือพิมพ์ภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับการแต่งตั้ง
        8. ผู้ชำระบัญชีต้องส่งงบการเงินที่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นอนุมัติพร้อมด้วยรายงานการประชุมผู้ถือหุ้น ให้นายทะเบียนภายใน 14 วัน นับแต่วันที่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นอนุมัติ
        9. ผู้ชำระบัญชีต้องจัดทำรายงานการชำระบัญชีพร้อมกับบัญชีรายจ่ายในการชำระบัญชี ต่อนายทะเบียนทุกระยะ 3 เดือน นับแต่วันได้รับการแต่งตั้งจนกว่าจะเสร็จสิ้นการชำระบัญชี
        10. ผู้ชำระบัญชีต้องจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีภายใน 14 วัน นับแต่วันที่ที่ประชุมผู้ถือหุ้น อนุมัติรายงานผลการชำระบัญชี พร้อมกับส่งมอบบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชี
        11. กรณีบริษัทเอกชนประสงค์จะแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัด คณะกรรมการที่ได้รับ แต่งตั้งใหม่ ต้องจดทะเบียนแปรสภาพบริษัทเอกชนเป็นบริษัทมหาชนจำกัด ภายใน 14 วัน นับแต่วัน เสร็จสิ้นการประชุม

รายการจดทะเบียน,คำขอจดทะเบียนและเอกสารประกอบตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535
ประเภทการจดทะเบียน

       1. จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ
               คำขอ : แบบ บมจ.101
               รายการ:
                      1. แบบ บมจ.001 (ใช้ทั้ง 3 หน้า)
                      2. แบบ บมจ.002
               เอกสารประกอบรายการ:
                      1. ใบจองชื่อนิติบุคคล
                      2. หนังสือมอบอำนาจ(ถ้ามี)

       2. จดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิก่อนจัดตั้งบริษัท
               คำขอ: แบบ บมจ.101
               รายการ:
                      1. แบบ บมจ.001
                      2. แบบ บมจ.002 ( กรณีเปลี่ยนวัตถุประสงค์)
                      3. แบบ บมจ.003
               เอกสารประกอบรายการ:
                      1. ใบจองชื่อนิติบุคคล (กรณีขอจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อ)
                      2. หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)

       3. จดทะเบียนจัดตั้งบริษัท
               คำขอ : แบบ บมจ.101
               รายการ :
                      1. แบบ บมจ.005 ( ใช้ทั้ง 4 หน้า )
                      2. แบบ บมจ.006
               เอกสารประกอบรายการ :
                      1. สำเนารายงานการประชุมจัดตั้งบริษัท
                      2. ข้อบังคับ
                      3. หนังสือรับรองจากสถาบันการเงินซึ่งแสดงว่าได้ชำระเงินค่าหุ้น โดยระบุจำนวน
                          เงินที่ได้รับไว้ทั้งสิ้น ประเภท และเลขบัญชีเงินฝาก
                      4. หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)

       4. จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงหนังสือบริคณห์สนธิ
               คำขอ : แบบ บมจ.101
               รายการ :
                      1.แบบ บมจ.001 (เฉพาะหน้า 1)
                      2.แบบ บมจ.002 (กรณีเปลี่ยนวัตถุประสงค์)
               เอกสารประกอบรายการ :
                      1. กรณีเปลี่ยนแปลงหนังสือบริคณห์สนธิ ข้อ 4 (ทุนจดทะเบียน) จะต้องส่งสำเนา
                          รายงานการประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทที่มีมติให้เพิ่มทุน และจัดสรรหุ้นเพิ่มทุน
                      2. หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)

       5. จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงข้อบังคับ
               คำขอ : แบบ บมจ.101
               รายการ : ข้อบังคับฉบับใหม่ทั้งฉบับ (ทั้งที่แก้ไขและข้อเดิมที่ไม่ได้แก้ไข)
               เอกสารประกอบรายการ : หนังสือมอบอำนาจ ( ถ้ามี)

       6. จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงสำนักงานแห่งใหญ่หรือสำนักงานสาขา
               คำขอ: แบบ บมจ.101
               รายการ : แบบ บอจ.005 (เฉพาะหน้า 3 และ 4 ) (ข้อ 4 ในหน้าที่ 3 ควรพิมพ์ ด้วยเพราะ
                  ข้อความจะได้ครบถ้วนถึงแม้ไม่ขอจดทะเบียน
               เอกสารประกอบรายการ : หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)

       7. จดทะเบียนเพิ่มทุนจดทะเบียน (เช่นเดียวกับ ลำดับ 4 เฉพาะทุนจดทะเบียน)
               คำขอ : แบบ บมจ.101
               รายการ : แบบ บมจ.001 ( เฉพาะหน้า 1 )
               เอกสารประกอบรายการ :
                      1. รายงานการประชุมผู้ถือหุ้นที่มีมติให้เพิ่มทุนและจัด สรรหุ้นเพิ่มทุน
                      2. หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)

       8. จดทะเบียนเพิ่มทุนที่ชำระแล้วหรือจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้
             กรณีที่ 1.
              1. ขายหุ้นสามัญ,หุ้นบุริมสิทธิ,
              2. * ขายหุ้นกู้แปลงสภาพแล้วผู้ซื้อนำมาแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญ
              3. * ขายใบสำคัญแสดงสิทธิการชื้อหุ้นสามัญ หรือหุ้นบุริมสิทธิแล้วผู้ซื้อได้ใช้สิทธิซื้อหุ้น
                    คำขอ : แบบ บมจ.101
                    รายการ :
              1. แบบ บมจ.005 หน้า 1
              2. แบบ บมจ.006 (เฉพาะผู้ซื้อหุ้นที่เพิ่มทุน)
                    เอกสารประกอบรายการ :
              1. รายงานการประชุมผู้ถือหุ้นที่มีมติให้เพิ่มทุนและการจัดสรรหุ้นเพิ่มทุน (ถ้า ได้ส่งไว้แล้วในคราวจดทะเบียนเปลี่ยนทุนจดทะเบียนในหนังสือบริคณห์สนธิ ตาม 7 ไม่ต้องส่งอีก)
              2. หนังสือรับรองจากสถาบันการเงินซึ่งแสดงว่าได้ชำระเงินค่าหุ้น โดยระบุจำนวน
เงินที่ได้รับไว้ทั้งสิ้น ประเภทเลขที่บัญชีเงินฝาก
              3. หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)
              4. หนังสือชี้แจงการแปลงสถาพหุ้นกู้เป็นหุ้นสามัญ(ใช้ในข้อ2*)
              5. หนังสือชี้แจงการใช้สิทธิตามใบสำคัญแสดงสิทธิ (ใช้ในข้อ3*)
              กรณีที่ 2.
              1. ออกหุ้นกู้แปลงสภาพไปแลกกับหุ้นกู้เดิมหรือแลกกับภาระผูกพันที่มีอยู่กับ เจ้าหนี้ทางการเงินอื่นๆของบริษัทและผู้ถือหุ้นแปลงสภาพนำมาเปลี่ยนเป็นหุ้นสามัญ
              2. หุ้นกู้เดิมเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขเพื่อให้สิทธิแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญได้
                    คำขอ : แบบ บมจ.101
                    รายการ :
              1. แบบ บมจ.005 หน้า 1
              2. แบบ บมจ.006 (เฉพาะซึ่งผู้ที่เพิ่มทุน)
                    เอกสารประกอบรายการ :
              1. สำเนาหนังสือของผู้ถือหุ้นกู้แปลงสภาพที่มีถึงบริษัทแสดงเจตนาขอแปลงสิทธิ จากหุ้นกู้แปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญ
              2. สำเนาหลักฐานของสำนักงาน ก.ล.ต. ซึ่งอนุญาตให้บริษัทออกหุ้นกู้แปลงสภาพ
              3. สำเนารายงานการแปลงสภาพหุ้นกู้เป็นหุ้นสามัญซึ่งบริษัท รายงานต่อสำนัก งาน ก.ล.ต.
              4. หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)

       9. จดทะเบียนมติลดทุน
               คำขอ : แบบ บมจ.101
               เอกสารประกอบรายการ :
                      1.รายงานการประชุมผู้ถือหุ้นที่มีมติให้ลดทุนจดทะเบียน
                      2.หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)

       10. จดทะเบียนลดทุนจดทะเบียนโดยลดจำนวนหุ้นที่จำหน่ายไม่ได้หรือยังไม่ได้นำออกจำหน่าย
               คำขอ : แบบ บมจ.101
               รายการ : แบบ บมจ.001 (เฉพาะหน้า 1)
               เอกสารประกอบรายการ :
                      1. สำเนารายงานการประชุมผู้ถือหุ้นที่มีมติให้ลดทุนจดทะเบียน
                      2. หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)

       11. จดทะเบียนลดทุนจดทะเบียนโดยลดมูลค่าหุ้นหรือลดจำนวนหุ้น
               คำขอ : แบบ บมจ.101
               รายการ :
                      1. แบบ บมจ.001 (หน้า 1)
                      2. แบบ บมจ.005 (หน้า 1)
                      3. แบบ บมจ.006
               เอกสารประกอบรายการ
                      1. หนังสือรับรองว่ามีการส่งหนังสือแจ้งมติการลดไปยังเจ้าหนี้
                      2. หนังสือรับรองว่าได้มีการโฆษณามติการลดทุนของบริษัทในหนังสือพิมพ์โดย ระบุฉบับและวันที่ลงไว้ด้วย
                      3. หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)

       12. จดทะเบียนหุ้นบุริมสิทธิเป็นหุ้นสามัญ
               คำขอ : แบบ บมจ.101
               รายการ :
                      1. แบบ บมจ.005 (เฉพาะ หน้า 1)
                      2. >แบบ บมจ.006 (เฉพาะผู้ถือหุ้นที่ให้สิทธิแปลงหุ้นบุริมสิทธิเป็นหุ้นสามัญ)
               เอกสารประกอบคำขอ :
                      1. สำเนาคำขอแปลงหุ้นบุริมสิทธิเป็นหุ้นสามัญ หรือหนังสือชี้แจงแทนสำเนาคำขอแปลงหุ้นฯ
                      2. หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)

       13. จดทะเบียนกรรมการ (เข้า-ออก)
               คำขอ : แบบ บมจ.101
               รายการ : แบบ บมจ.005 (เฉพาะหน้า 2) ต้องระบุชื่อกรรมการที่ยังคงอยู่ทุกคนเฉพาะกรรมการที่ เข้าใหม่ต้องลงลายมือชื่อด้วย
               เอกสารประกอบรายการ :
                      1. ถ้ากรรมการลาออกเพราะยื่นใบลาออก โดยระบุในคำขอจดทะเบียนไม่ใช่โดยมติ คณะกรรมการ หรือมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น ขอสำเนาใบลาออกแนบคำขอด้วย
                      2. หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)

       14. จดทะเบียนอำนาจกรรมการ

               คำขอ : แบบ บมจ.101
               รายการ : แบบ บมจ.005 (เฉพาะ หน้า 3)
               เอกสารประกอบรายการ : >หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)

       15. จดทะเบียนควบบริษัท
               คำขอ : แบบ บมจ.101
               รายการ :
                      1. แบบ บมจ.001 (เฉพาะหน้า 1)
                      2. แบบ บมจ.002 (วัตถุประสงค์)
                      3. แบบ บมจ.005 (ใช้ทั้งหมดทั้ง 4 หน้า)
                      4. แบบ บมจ.006 (บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น) ของบริษัทตั้งใหม่ที่ควบกัน
               เอกสารประกอบรายการ :
                      1. หนังสือบริคณห์สนธิและข้อบังคับของบริษัทที่จัดตั้งใหม่อันเกิดจากการควบเข้ากัน
                      2. สำเนารายงานการประชุมร่วมกันระหว่างผู้ถือหุ้นของบริษัทที่ควบกัน
                      3. หนังสือรับรองว่าได้มีการส่งหนังสือแจ้งมติการควบบริษัทไปยังเจ้าหนี้บริษัท
                      4. ใบจองชื่อนิติบุคคล
                      5. หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)
                      6. หนังสือรับรองว่าได้มีการลงโฆษณามติให้ควบบริษัทของแต่ละบริษัทในหนังสือพิมพ์ โดยระบุฉบับและวันที่ลงให้ด้วย

       16. จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงมูลค่าหุ้น
               คำขอ : แบบ บมจ.101
               รายการ :
                      1. แบบ บมจ.001 (เฉพาะหน้า 1)
                      2. แบบ บมจ.005 (เฉพาะหน้า 1)
                      3. แบบ บมจ.006
               เอกสารประกอบรายการ :
                      1. หนังสือมอบอำนาจ ( ถ้ามี )
                      2. สำเนารายงานการประชุมผู้ถือหุ้น

       17. จดทะเบียนเลิกบริษัท

               คำขอ : แบบ บมจ.102
               รายการ : แบบ บมจ.008
               เอกสารประกอบรายการ :
                      1. สำเนารายงานการประชุมผู้ถือหุ้น
                      2. หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)

       18. จดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชี
               คำขอ : แบบ บมจ.102
               รายการ :
                      1. แบบ บมจ.010
                      2. แบบ บมจ.011
                      3. แบบ บมจ.012
               เอกสารประกอบรายการ :
                      1. สำเนารายงานการประชุมผู้ถือหุ้นที่อนุมัติเสร็จการชำระบัญชี
                      2. หนังสือยืนยันการเก็บรักษาสมุดบัญชีและสรรพเอกสาร
                      3. หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)




ข้อมูลเกี่ยวกับการจดทะเบียน

รูปแบบองค์กรธุรกิจ article
ทะเบียนพาณิชย์ (ร้านค้า/บุคคลธรรมดา)
ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน article
บริษัทจำกัด article
สถานที่จดทะเบียน
คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับงานจดทะเบียนธุรกิจ/ Vocabularies Relevant to the Business Registration



Copyright © 2010 All Rights Reserved.

บริษัท บี พี แอคเคาน์แต้นท์ จำกัด
_____________________________________________________

สำนักงานใหญ่ :  เลขที่ 53 ถนนติวานนท์ ต.บางกระสอ  อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000

โทรศัพท์ :  0 2950 5560 ,โทรสาร : 0 2950 5560 ต่อ 18, มือถือ :  08 7505 9449, 08 9666 2871
_____________________________________________________

Email : bpaccountant2550@gmail.com
ID Line : bpaccountant