ReadyPlanet.com
dot dot
dot
ข้อมูลการประกอบธุรกิจ
dot
bulletข้อมูลเกี่ยวกับการจดทะเบียน
bulletข้อมูลเกี่ยวกับบัญชี
bulletแบบฟอร์มต่าง ๆ
bulletอื่น ๆ
dot
ติดต่อเรา
dot
bulletแผนที่สำนักงาน
dot
Link web
dot
bulletอัตราค่าแรงขั้นต่ำ
bulletอัตราดอกเบี้ย BOT
bulletอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา BOT
bulletอนุสัญญาภาษีซ้อน
bulletกรมสรรพสามิต
bulletกรมการค้าต่างประเทศ
bulletกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
bulletสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน)
bulletสมาคมผู้ตรวจสอบภายในแห่งประเทศไทย
bulletสภาทนายความ
bulletเนติบัณฑิตยสภา
bulletกรมศุลกากร
bulletส่งเสริม SME
bulletกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
dot
Member login
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
bullet สมัครสมาชิก
dot


สำนักงานประกันสังคม
กรมสรรพากร
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
สภาวิชาชีพบัญชี
ธนาคารแห่งประเทศไทย


ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา article

 

          ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา..... คือ ภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลทั่วไป หรือจากหน่วยภาษีที่มีลักษณะพิเศษ ตามที่กฎหมายกำหนดและมีรายได้เกิดขึ้นตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยปกติจัดเก็บเป็นรายปี รายได้ที่เกิดขึ้นในปีใดๆ ผู้มีรายได้มีหน้าที่ต้องนำไปแสดงรายการตนเองตามแบบแสดงรายการภาษีที่กำหนดภายในเดือนมกราคมถึงมีนาคมของปีถัดไป สำหรับผู้มีเงินได้บางกรณีกฎหมายยังกำหนดให้ยื่นแบบฯ เสียภาษีตอนครึ่งปี สำหรับรายได้ ที่เกิดขึ้นจริงในช่วงครึ่งปีแรก เพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษีที่ต้องชำระและเงินได้บางกรณี กฎหมายกำหนดให้ ผู้จ่ายทำหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายจากเงินได้ที่จ่ายบางส่วน เพื่อให้มีการทยอยชำระภาษีขณะที่มีเงินได้เกิดขึ้นอีกด้วย

ใครมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ?

เมื่อมีเงินได้เกิดขึ้นแล้วผู้มีหน้าที่เสียภาษีจะต้องทำอะไรบ้าง?

เงินได้อะไรบ้างที่ต้องเสียภาษี?

ผู้ที่มีเงินได้เกิดขึ้นในระหว่างปีภาษีมีหน้าที่ต้องยื่นแบบฯ เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาทุกกรณีหรือไม่?

เงินได้อันเป็นเหตุให้ต้องนำไปรวมคำนวณภาษีมาจากแหล่งใดบ้าง?

ในการเสียภาษีจะต้องคำนวณภาษีอย่างไร?

เงินได้พึงประเมินอะไรบ้างที่ได้รับยกเว้นภาษี?

วิธีการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสิ้นปีจะต้องทำอย่างไร?

เงินได้พึงประเมินแต่ละกรณีจะคำนวณหักค่าใช้จ่ายได้เท่าใด?

ผู้มีเงินได้มีสิทธิหักลดหย่อนอะไรได้บ้าง?

ผู้มีเงินได้มีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอย่างไร และเมื่อใด?

ยื่นแบบแสดงรายการได้ที่ไหน?

การชำระภาษีด้วยวิธีใดบ้าง?

หากยื่นแบบแล้วมีภาษีต้องชำระจะขอผ่อนชำระภาษีได้หรือไม่

ถ้าไม่ชำระในกำหนดเวลาหรือชำระไม่ถูกต้องจะมีความรับผิดอย่างไรบ้าง?

บัญชีอัตราภาษี

การบริจาคเงินภาษีให้แก่พรรคการเมือง?

 

__________________________________________________________________________________________

ใครมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา?


ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ได้แก่ ผู้ที่มีเงินได้เกิดขึ้นระหว่างปีที่ผ่านมาโดยมีสถานะ อย่างหนึ่งอย่างใด ดังนี้

        1)   บุคคลธรรมดา

        2)   ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล

        3)   ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี

        4)   กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง

__________________________________________________________________________________________

เมื่อมีเงินได้เกิดขึ้นแล้ว ผู้มีหน้าที่เสียภาษีจะต้องทำอะไรบ้าง ?
 
1.

ขอมีเลข และบัตรประจำตัวผู้เสียภาษี ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่มีเงินได้เกิดขึ้น กรณีเป็นผู้มีเงินได้ ที่ไม่มีเลขประจำตัวประชาชน ได้แก่ เป็นคนต่างด้าว หรือกองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง

เว้นแต่ ผู้มีเงินได้ ที่มีเลขประจำตัวประชาชน สามารถใช้ เลขประจำตัวประชาชน แทนเลขประจำตัว ผู้เสียภาษีอากรได้ โดยไม่ต้องขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรอีก

ผู้มีเงินได้ที่มีภูมิลำเนา อยู่ในกรุงเทพมหานคร อาจยื่นคำร้อง ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ กรุงเทพมหานคร ทั้ง 30 แห่ง หรือ สำนักสรรพากรพื้นที่ สาขา(อำเภอ)ทุกแห่ง

สำหรับในต่างจังหวัด ยื่นคำขอได้ที่สำนักงานสรรพากร พื้นที่ (จังหวัด) และสำนักงานสรรพากร พื้นที่สาขา (อำเภอ) ทุกแห่ง แล้วแต่กรณี

   
2.
ยื่นแบบแสดงรายการ ปกติปีละ 1 ครั้ง เงินได้ ของปีใด ก็ยื่นแบบฯ ภายใน วันที่ 31 มีนาคม ของปีถัดไป เว้นแต่ เงินได้ บางลักษณะ เช่น การให้เช่า ทรัพย์สิน เงินได้จาก วิชาชีพอิสระ เงินได้จาก การรับเหมา เงินได ้จากธุรกิจ การพาณิชย์ เป็นต้น จะต้อง ยื่นแบบฯ ตอนกลางปี สำหรับเงินได้ ที่เกิดขึ้นใน 6 เดือนแรก ภายใน เดือนกันยายน ของทุกปี

 

_________________________________________________________________________________________

ตามกฎหมาย เงินได้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เรียกว่า "เงินได้พึงประเมิน" หมายถึง เงินได้ของบุคคลใดๆ หรือหน่วยภาษีใดข้างต้นที่เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม ของปีใดๆ หรือเงินได้ ที่เกิดขึ้นในปีภาษี ได้แก่

1. เงิน

เครื่องหมายปีกกา

 

2. ทรัพย์สินซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน ที่ได้รับจริง

ที่ได้รับจริง

3. ประโยชน์ซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน

(เกณฑ์เงินสด)

4. เงินค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้

 

 

5. เครดิตภาษีตามที่กฎหมายกำหนด

 

 

_________________________________________________________________________________________


ผู้ที่มีเงินได้เกิดขึ้นในระหว่างปีภาษีมีหน้าที่ต้องยื่นแบบฯ เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาทุกกรณีหรือไม่?

 



ผู้ที่มีเงินได้เกิดขึ้นระหว่างปีภาษีจะมีหน้าที่ต้องยื่นแบบฯ ก็ต่อเมื่อมีเงินได้ถึงเกณฑ์ขั้นต่ำตามที่กฎหมายกำหนด ไม่ว่าเมื่อคำนวณภาษีแล้วจะมีภาษีต้องชำระเพิ่มเติมหรือไม่ก็ตาม ดังนี้


1. ผู้มีเงินได้จากการจ้างแรงงานประเภทเงินเดือน ค่าจ้างที่ได้รับในปีภาษีนั้น (ตั้งแต่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม)

      - กรณีไม่มีคู่สมรสต้องมีเงินได้พึงประเมินเกิน 50,000 บาท
      - กรณีที่มีคู่สมรสไม่ว่าฝ่ายเดียว หรือทั้งสองฝ่ายต้องมีเงินได้พึงประเมินรวมกัน เกิน 100,000 บาท


2. ผู้มีเงินได้จากการทำธุรกิจการค้าทั่วไปที่มิใช่เกิดจากการจ้างแรงงานที่ได้รับในปีภาษีนั้น (ตั้งแต่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม)

      - กรณีไม่มีคู่สมรสต้องมีเงินได้พึงประเมินเกิน 30,000 บาท
      - กรณีมีคู่สมรสไม่ว่าฝ่ายเดียวหรือทั้งสองฝ่ายต้องมีเงินได้พึงประเมินรวมกัน เกิน 60,000 บาท


3. กองมรดกของผู้ตายที่ยังไม่แบ่งเกิน 30,000 บาท


4. ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลเกิน 30,000 บาท

 

_________________________________________________________________________________________

เงินได้อันเป็นเหตุให้ต้องนำไปรวมคำนวณภาษีมาจากแหล่งใดบ้าง?

แหล่งที่มาของเงินได้ ซึ่งแบ่งเป็นเงินได้จากแหล่งในประเทศและนอกประเทศ เงินได้จากแหล่งต่างๆ นี้จะต้องนำไปรวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือไม่ ให้พิจารณา ดังนี้


1. เงินได้เกิดจากแหล่งในประเทศ หมายถึง เงินได้ที่เกิดขึ้น หรือเป็นผลสืบเนื่องจากมี

1.1 หน้าที่งานที่ทำในประเทศไทย หรือ
1.2 กิจการที่ทำในประเทศไทย หรือ
1.3 กิจการของนายจ้างในประเทศไทย หรือ
1.4 ทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย (ดอกเบี้ย เงินปันผล ค่าเช่า ฯลฯ

* เงื่อนไข ผู้มีเงินได้เกิดจากแหล่งในประเทศนี้มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้ตามที่ประมวลรัษฏากร กำหนดไว้เสมอเว้นแต่จะมีข้อยกเว้นตามกฎหมาย ทั้งนี้ ไม่ว่าเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ล่วงมาแล้วนั้น จะจ่ายในหรือนอกประเทศ และไม่ว่าผู้มีเงินได้นั้นจะเป็นผู้อยู่ในประเทศไทยหรือไม่ก็ตาม)

 

2. เงินได้เกิดจากแหล่งนอกประเทศไทย  หมายถึง เงินได้ที่เกิดขึ้นหรือเป็นผลสืบเนื่องจากมี


2.1 หน้าที่งานที่ทำในต่างประเทศ หรือ
2.2 กิจการที่ทำในต่างประเทศ หรือ
2.3 ทรัพย์สินที่อยู่ในต่างประเทศ


* เงื่อนไข ผู้มีเงินได้เกิดจากแหล่งนอกประเทศในปีภาษีที่ล่วงมาแล้วจะต้องเสียภาษีเงินได้ ในประเทศไทยก็ต่อเมื่อเข้าองค์ประกอบทั้ง 2 ประการ ดังต่อไปนี้
(1) ผู้มีเงินได้เป็น ผู้อยู่ในประเทศไทย ในปีภาษีนั้นชั่วระยะเวลาหนึ่งหรือหลายระยะเวลา รวมทั้งหมดถึง 180 วัน และ
(2) ผู้มีเงินได้ นำเงินได้นั้นเข้ามาในประเทศไทยในปีภาษีนั้นด้วย

ในการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาบางกรณี ถ้าเกี่ยวข้องกับบุคคลของบางประเทศที่มี อนุสัญญาภาษีซ้อน* หรือความตกลงเพื่อป้องกันการเก็บภาษีซ้ำซ้อนกับประเทศไทยจำเป็นต้องพิจารณาถึงความ ตกลงหรืออนุสัญญาว่าด้วยการเว้นการเก็บภาษีซ้อนระหว่างประเทศไทยได้ทำความตกลงไว้ด้วย

 

_________________________________________________________________________________________

ในการเสียภาษีจะต้องคำนวณภาษีอย่างไร?

เนื่องจากผู้มีเงินได้ประกอบอาชีพแตกต่างกัน มีความยากง่ายหรือต้นทุนที่แตกต่างกัน เพื่อความ เป็นธรรม ในกฎหมายจึงได้แบ่งลักษณะเงินได้(พึงประเมิน) ออกเป็นกลุ่มๆ ตามความเหมาะสมเพื่อกำหนด วิธีคำนวณภาษีให้เกิดความเป็นธรรมมากที่สุด ดังนี้


1. เงินได้ประเภทที่ 1
ได้แก่ เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน ไม่ว่าจะเป็น

- เงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส เบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ
- เงินค่าเช่าบ้านที่ได้รับจากนายจ้าง
- เงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้าน ซึ่งนายจ้างให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า
- เงินที่นายจ้างจ่ายชำระหนี้ใด ๆ ซึ่งลูกจ้างมีหน้าที่ต้องชำระ
- เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใด ๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน เช่น มูลค่าของการได้รับประทานอาหาร เป็นต้น

2. เงินได้ประเภทที่ 2 ได้แก่ เงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้ ไม่ว่าจะเป็น

- ค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า ค่าส่วนลด
- เงินอุดหนุนในงานที่ทำ เบี้ยประชุม บำเหน็จ โบนัส
- เงินค่าเช่าบ้านที่ได้รับเนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้
- เงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้าน ที่ผู้จ่ายเงินได้ให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า
- เงินที่ผู้จ่ายเงินได้จ่ายชำระหนี้ใด ๆ ซึ่งผู้มีเงินได้มีหน้าที่ต้องชำระ
- เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใด ๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำหรือ จากการรับทำงานให้นั้น ไม่ว่าหน้าที่หรือตำแหน่งงาน หรืองานที่รับทำให้นั้นจะเป็นการประจำหรือชั่วคราว


3. เงินได้ประเภทที่ 3
ได้แก่ ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์หรือสิทธิอย่างอื่น เงินปี หรือเงินได้ที่มีลักษณะ เป็นเงินรายปีอันได้มาจากพินัยกรรม นิติกรรมอย่างอื่น หรือคำพิพากษาของศาล

4. เงินได้ประเภทที่ 4 ได้แก่ ดอกเบี้ย เงินปันผล เงินส่วนแบ่งกำไร   เงินลดทุน เงินเพิ่มทุน ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนหุ้น ฯลฯ เป็นต้น
      (ก) ดอกเบี้ยพันธบัตร ดอกเบี้ยเงินฝาก ดอกเบี้ยหุ้นกู้ ดอกเบี้ยตั๋วเงิน ดอกเบี้ยเงินกู้ยืม ไม่ว่าจะมี หลักประกันหรือไม่ ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายตามกฎหมายว่าด้วยภาษีเงินได้ปิโตรเลียมเฉพาะส่วนที่เหลือจากถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายตามกฎหมายดังกล่าว หรือผลต่างระหว่างราคาไถ่ถอน กับราคาจำหน่ายตั๋วเงินหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น เป็นผู้ออกและจำหน่ายครั้งแรกในราคาต่ำกว่าราคาไถ่ถอน รวมทั้งเงินได้ที่มีลักษณะทำนองเดียวกันกับดอกเบี้ย ผลประโยชน์หรือค่าตอบแทนอื่น ๆ ที่ได้จากการให้กู้ยืมหรือจากสิทธิเรียกร้องในหนี้ทุกชนิดไม่ว่าจะมีหลักประกันหรือไม่ก็ตาม
      (ข)
เงินปันผล เงินส่วนแบ่งของกำไร หรือประโยชน์อื่นใดที่ได้จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล กองทุนรวม หรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายไทยให้จัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะสำหรับให้กู้ยืมเงิน ฯลฯ
      (ค) เงินโบนัสที่จ่ายแก่ผู้ถือหุ้น หรือผู้เป็นหุ้นส่วนในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
      (ง) เงินลดทุนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเฉพาะส่วนที่จ่ายไม่เกินกว่ากำไรและเงินที่กันไว้รวมกัน
      (จ) เงินเพิ่มทุนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งตั้งจากกำไรที่ได้มาหรือรับช่วงกันไว้รวมกัน
      (ฉ) ผลประโยชน์ที่ได้จากการที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลควบเข้ากันหรือรับช่วงกันหรือ เลิกกัน ซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าเงินทุน
      (ช) ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนการเป็นหุ้นส่วนหรือโอนหุ้น หุ้นกู้ พันธบัตร หรือตั๋วเงิน หรือ ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ออก ทั้งนี้เฉพาะซึ่งตีราคา เป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน

      เงินได้ประเภทที่ 4 ในหลาย ๆ กรณี กฎหมายให้สิทธิที่จะเลือกเสียภาษีโดยวิธีหักภาษี ณ ที่จ่าย แทนการนำไปรวมคำนวณกับเงินได้อื่นตามหลักทั่วไป ซึ่งจะทำให้ผู้มีเงินได้ที่ต้องเสียภาษีตามบัญชีอัตราภาษี ในอัตราที่สูงกว่าอัตราภาษี หัก ณ ที่จ่าย สามารถประหยัดภาษีได้

5. เงินได้ประเภทที่ 5 เงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน เงินหรือประโยชน์อย่างอื่น ที่ได้เนื่องจาก

- การให้เช่าทรัพย์สิน
- การผิดสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สิน
- การผิดสัญญาซื้อขายเงินผ่อนซึ่งผู้ขายได้รับคืนทรัพย์สินที่ซื้อขายนั้นโดยไม่ต้องคืนเงินหรือประโยชน์ที่ได้รับไว้แล้ว  


6. เงินได้ประเภทที่ 6
ได้แก่ เงินได้จากวิชาชีพอิสระ คือวิชากฎหมาย การประกอบโรคศิลป วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การบัญชี ประณีตศิลปกรรม หรือวิชาชีพอื่นซึ่งจะได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดชนิดไว้ 


7. เงินได้ประเภทที่ 7
ได้แก่ เงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนด้วยการจัดหาสัมภาระ ในส่วนสำคัญนอกจากเครื่องมือ 


8. เงินได้ประเภทที่ 8
ได้แก่ เงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง การขายอสังหาริมทรัพย์ หรือการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ในประเภทที่ 1 ถึงประเภทที่ 7 แล้ว

 

_________________________________________________________________________________________

เงินได้พึงประเมินอะไรบ้างที่ได้รับการยกเว้นภาษี ?
 

74. เงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็น ค่าซื้อหน่วยลงทุน ในกองทุนรวม เพื่อการเลี้ยงชีพ ตามกฎหมาย ว่าด้วยหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ ให้ยกเว้น เท่าที่ได้จ่ายเป็น ค่าซื้อหน่วยลงทุน ในอัตราไม่เกิน ร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 500,000 บาท สำหรับปีภาษีนั้น โดยผู้มีเงินได้ ต้องถือหน่วยลงทุน ดังกล่าว มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี นับตั้งแต่ วันซื้อหน่วยลงทุน ครั้งแรก และไถ่ถอนหน่วยลงทุนนั้น เมื่อผู้มีเงินได้ มีอายุไม่ต่ำกว่า 55 ปีบริบูรณ์ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ที่อธิบดีกำหนด

           ในกรณี ที่ผู้มีเงินได้ จ่ายเงินสะสม เข้ากองทุน สำรองเลี้ยงชีพ ตามกฎหมาย ว่าด้วยกองทุน สำรองเลี้ยงชีพ หรือจ่ายเงิน สะสมเข้ากองทุน บำเหน็จบำนาญข้าราชการ ตามกฎหมาย ว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือกองทุน สงเคราะห์ ตามกฎหมายว่าด้วย โรงเรียนเอกชนด้วย เงินได้ที่ได้รับยกเว้น ตามวรรคหนึ่ง เมื่อรวมกับเงินสะสม ที่จ่ายเข้า กองทุน สำรองเลี้ยงชีพ หรือกองทุน บำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือกองทุนสงเคราะห์ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท

           ในกรณี ที่ผู้มีเงินได้ ถือหน่วยลงทุน ไม่ครบ 5 ปี นับตั้งแต่ วันซื้อหน่วยลงทุนครั้งแรก หรือ ไถ่ถอนหน่วยลงทุนก่อน ที่ผู้มีเงินได ้มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ ให้ผู้มีเงินได้นั้น หมดสิทธิได้รับยกเว้น ตามวรรคหนึ่ง และต้องเสียภาษีเงินได ้สำหรับเงินได้ ที่ได้รับยกเว้นภาษี ตามวรรคหนึ่งมาแล้วด้วย (ดูประกาศ อธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 171)

            ในปีภาษี 2551 หากผู้มีเงินได้ มีการซื้อหน่วยลงทุน ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2551 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ให้เงินได้ ตามวรรคหนึ่ง เท่ากับส่วนที่ไม่เกิน 700,000 บาท แต่ไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมิน และในกรณี ที่ผู้มีเงินได้ดังกล่าว ได้จ่ายเงินสะสม ตามวรรคสองด้วย เมื่อรวมเงินได้ กับเงินสะสมแล้ว ต้องไม่เกิน 700,000 บาท ทั้งนี้ เงินได้ที่ได้รับ ยกเว้นดังกล่าว ให้เป็นไปตาม หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด และให้นำความ ในวรรคสามมาใช้บังคับด้วย (ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 173)

75. เงินหรือผลประโยชน์ใดๆ ที่ผู้ถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ตามกฎหมาย ว่าด้วยหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ ได้รับจาก กองทุนรวม ดังกล่าว เพราะเหตุสูงอายุ ทุพพลภาพ หรือตาย ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการ ที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด (ดูประกาศ อธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 91)

76. เงินหรือผลประโยชน์ใดๆ ที่ครูใหญ่ หรือครูโรงเรียนเอกชน ได้รับจากกองทุนสงเคราะห์ ตามกฎหมายว่าด้วย โรงเรียนเอกชน เมื่อครูใหญ่ หรือครูโรงเรียนเอกชน ออกจากงาน เพราะเหตุสูงอายุ ทุพพลภาพ หรือตาย ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่ อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด (ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 99)

81. ยกเว้นเงินได้ เท่าที่ผู้มีเงินได้ จ่ายเป็น เบี้ยประกันภัย ในปีภาษี สำหรับการประกันชีวิต ของผู้มีเงินได้ ตามจำนวน ที่จ่ายจริง เฉพาะส่วนที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 90,000 บาท โดยกรมธรรม์ประกันชีวิต ต้องมีกำหนดเวลา ตั้งแต่ 10 ขึ้นไป และการประกันชีวิตนั้น ได้เอาประกันไว้ กับผู้รับประกันภัยที่ ประกอบกิจการประกันชีวิต ในราชอาณาจักร ทั้งนี้ สำหรับเบี้ยประกัน ที่ได้จ่าย ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป และให้เป็นไป ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดี (ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 172)

85. เงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่ได้รับ เนื่องจาก การขายหน่วยลงทุน คืนให้แก่กองทุนรวม เพื่อการเลี้ยงชีพ ตามกฎหมาย ว่าด้วยหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ เฉพาะกรณี ที่ผู้มีเงินได้ ถือหน่วยลงทุน ดังกล่าวมาแล้ว ไม่น้อยกว่า 5 ปี นับตั้งแต่ วันซื้อหน่วยลงทุน ครั้งแรก ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด ดังนี้


 

 
1.

ผู้มีเงินได้ ต้องซื้อหน่วยลงทุน ในกองทุนรวม เพื่อการเลี้ยงชีพ ไม่น้อยกว่าปีละ 1 ครั้ง และต้องไม่ระงับ การซื้อหน่วยลงทุน เป็นเวลาเกินกว่า 1 ปี ติดต่อกัน และการซื้อหน่วยลงทุน ในกองทุนรวม เพื่อการเลี้ยงชีพ ตามวรรคหนึ่ง ต้องมีจำนวนรวมกัน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 3 ของเงินได้ ที่ได้รับในแต่ละปี หรือมีจำนวนไม่น้อยกว่า 5,000 บาทต่อปี
 

   
2.
ผู้มีเงินได้ จะต้องถือหน่วยลงทุน ในกองทุนรวม เพื่อการเลี้ยงชีพไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี นับตั้งแต่วันซื้อหน่วยลงทุนครั้งแรก
  การนับระยะเวลา การถือหน่วยลงทุน ในกองทุนรวม เพื่อการเลี้ยงชีพ ตามวรรคหนึ่ง ให้นับเฉพาะปี ที่ผู้ถือหน่วยลงทุนได้ซื้อหน่วยลงทุน เฉพาะที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 1.
  ความในวรรคหนึ่ง มิให้ใช้บังคับ ในกรณีผู้มีเงินได้ ไถ่ถอนหน่วยลงทุน ในกองทุนรวม เพื่อการเลี้ยงชีพ เพราะเหตุทุพพลภาพหรือตาย
   
3.
ผู้มีเงินได้ ต้องไม่ได้รับเงินปันผล หรือเงินอื่นใด จากกองทุนรวม เพื่อการเลี้ยงชีพ ในระหว่างการลงทุน และต้องได้รับคืน เงินลงทุน และผลประโยชน์ จากกองทุนรวม เพื่อการเลี้ยงชีพ เมื่อมีการไถ่ถอน หน่วยลงทุนเท่านั้น
   
4.
ผู้มีเงินได้ ต้องไม่กู้ยืมเงิน หรือเบิกเงินจากกองทุนรวม เพื่อการเลี้ยงชีพที่ผู้มีเงินได้ได้ซื้อหน่วยลงทุนไว้
   

          กรณีผู้มีเงินได้ ได้ซื้อหน่วยลงทุน ในกองทุนรวม เพื่อการเลี้ยงชีพ เกินกว่าหนึ่งกองทุน เงินได้ที่จ่ายเป็น ค่าซื้อหน่วยลงทุน ในกองทุนรวม เพื่อการเลี้ยงชีพ ในแต่ละกองทุน ที่จะได้รับยกเว้น ไม่ต้องรวมคำนวณ เพื่อเสียภาษี เงินได้บุคคลธรรมดา ต้องเป็นไป ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตาม (1)-(4) (ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 170)

          กรณีการขายหน่วยลงทุน ตามวรรคหนึ่ง หากเป็นการขายหน่วยลงทุน ที่ผู้มีเงินได้ ได้ซื้อหน่วยลงทุน ดังกล่าว ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2551 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2551 หรือได้ซื้อหน่วยลงทุนระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2551 ถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2551 และได้มีการซื้อหน่วยลงทุนเพิ่มเติมระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2551 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ให้ยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับเงิน หรือผลประโยชน์ใดๆ ที่ได้รับ เนื่องจาก การขายหน่วยลงทุน ที่ซื้อมาในปีภาษี 2551 ที่คำนวณมาจาก เงินได้พึงประเมิน ที่ซื้อหน่วยลงทุน ดังกล่าว ได้ในอัตรา ไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้แต่ไม่เกิน 700,000 บาท ในปีภาษี 2551 (ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 174)

86. เงินได้เท่าที่จ่ายเป็น ค่าซื้อหน่วยลงทุน ในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว ตามกฎหมาย ว่าด้วยหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ ที่ได้มีการจดทะเบียน กองทรัพย์สิน เป็นกองทุนรวม ภายในวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2550 ในอัตราไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมิน เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 500,000 บาท สำหรับปีภาษีนั้น และเงินได้ดังกล่าว ต้องเป็นเงินได้ ของผู้มีเงินได้ ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา แต่ไม่รวมถึง ห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล และกองมรดก ที่ยังไม่ได้แบ่ง ทั้งนี้ สำหรับเงินได้ พึงประเมิน ที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป

          เงินได้ที่ได้รับยกเว้น ตามวรรคหนึ่ง และการถือหน่วยลงทุน ในกองทุนรวมหุ้น ระยะยาว ให้เป็นไปตาม หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด

          ในกรณีที่ผู้มีเงินได้ ไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดใน วรรคสอง ให้ผู้มีเงินได้นั้น หมดสิทธิได้รับยกเว้น ตามวรรคหนึ่ง และต้องเสียภาษีเงินได้สำหรับเงินได้ ที่ได้รับยกเว้นภาษี ตามวรรคหนึ่งมาแล้วด้วย (ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 169)

           ในปีภาษี 2551 หากผู้มีเงินได้ มีการซื้อหน่วยลงทุน ในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2551 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ให้เงินได้ตามวรรคหนึ่ง เท่ากับส่วนที่ไม่เกิน 700,000 บาท แต่ไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมิน ทั้งนี้ เงินได้ที่ได้รับยกเว้น และการถือหน่วยลงทุน ดังกล่าว ให้เป็นไป ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด และให้นำความในวรรค สามมาใช้บังคับด้วย (ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 175)

 

_________________________________________________________________________________________

วิธีการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสิ้นปีจะต้องทำอย่างไร?


โดยทั่วไปผู้มีเงินได้ต้องนำเงินได้พึงประเมินทุกประเภทของตน ตลอดปีภาษี (ไม่รวมเงินได้ที่กฎหมายยกเว้นภาษี หรือที่ไม่ต้องเสียภาษี) ไปคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสิ้นปี เพื่อยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีภายในเดือนมีนาคมของปีถัดจากปีที่มีเงินได้ การคำนวณภาษีให้ทำเป็น 3 ขั้น คือ

ขั้นที่หนึ่ง
คำนวณหาจำนวนภาษีตาม วิธีที่ 1 เสียก่อน
การคำนวณภาษีตามวิธีที่ 1

เงินได้พึงประเมินทุกประเภทรวมกันตลอดปีภาษี

xxxx

(1)

หัก ค่าใช้จ่ายตามที่กฎหมายกำหนด

xxxx

(2)

(1)-(2) เหลือเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่าย

xxxx

(3)

หัก ค่าลดหย่อนต่าง ๆ (ไม่รวมค่าลดหย่อนเงินบริจาค) ตามที่กฎหมายกำหนด

xxxx

(4)

(3)-(4) เหลือเงินได้หลังจากหักค่าลดหย่อนต่าง ๆ

xxxx

(5)

หัก ค่าลดหย่อนเงินบริจาค ไม่เกินจำนวนที่กฎหมายกำหนด

xxxx

(6)

(5-6) เหลือเงินได้สุทธิ

xxxx

(7)

นำเงินได้สุทธิตาม (7) ไปคำนวณภาษีตามอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

 

 

จำนวนภาษีตามการคำนวณภาษีวิธีที่ 1

xxxx

(8)

 

 

 

ขั้นที่สอง ให้พิจารณาว่าจะต้องคำนวณภาษีตาม วิธีที่ 2 หรือไม่ ถ้าเข้าเงื่อนไขที่จะต้องคำนวณภาษีตามวิธีที่ 2 จึงคำนวณภาษีตามวิธีที่ 2 อีกวิธีหนึ่ง
กรณีที่ต้องคำนวณภาษีตามวิธีที่ 2 ได้แก่ กรณีที่เงินได้พึงประเมินทุกประเภทในปีภาษี แต่ไม่รวม เงินได้พึงประเมินตามประเภทที่ 1 มีจำนวนรวมกันตั้งแต่ 60,000 บาทขึ้นไป การคำนวณภาษีตามวิธีที่ 2 นี้ ให้คำนวณในอัตราร้อยละ 0.5 ของยอดเงินได้พึงประเมิน (= เงินได้พึงประเมินทุกประเภทลบเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 1 คูณด้วย 0.005) ดังกล่าวนั้น


ขั้นที่สาม สรุปจำนวนภาษีที่ต้องเสียภาษี

การคำนวณภาษี

จำนวนภาษีเงินได้สิ้นปีที่ต้องเสีย เทียบ (8) และ (10) จำนวนที่สูงกว่า

xxxx

(11)

หัก ภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายแล้ว

xx

 

 

ภาษีเงินได้ครึ่งปีที่ชำระไว้แล้ว

xx

 

 

ภาษีเงินได้ชำระล่วงหน้า

xx

 

 

เครดิตภาษีเงินปันผล

xx

xx

(12)

(11-12) เหลือ ภาษีเงินได้ที่ต้องเสีย (หรือที่เสียไว้เกินขอคืนได้)

xx

 _________________________________________________________________________________________

 

 

ผู้มีเงินได้มีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอย่างไร และเมื่อใด?

แบบแสดงรายการที่ใช้มีดังต่อไปนี้

 

ชื่อแบบ

ใช้ยื่นกรณี

กำหนดเวลายื่น

ภ.ง.ด. 90

มีเงินได้พึงประเมินทุกประเภท

มกราคม - มีนาคม ของปีภาษีถัดไป

ภ.ง.ด. 91

มีเฉพาะเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 1ม.40(1) ประเภทเดียว

มกราคม - มีนาคม ของปีภาษีถัดไป

ภ.ง.ด. 93

มีเงินได้ขอชำระภาษีล่วงหน้า

ก่อนถึงกำหนดเวลาการยื่นแบบตามปกติ

ภ.ง.ด. 94

ยื่นครึ่งปีสำหรับผู้มีเงินได้พึงประเมินเฉพาะประเภทที่ 5,6,7 และ 8

กรกฎาคม - กันยายน ของปีภาษีนั้น



การยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
มี 2 ระยะ คือ

 

1. "ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี" เป็นการยื่นแบบแสดงรายการเงินได้เฉพาะเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 5,6,7 หรือ 8 ที่ได้รับตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายนไม่ว่าจะมีเงินได้ประเภทอื่นรวมอยู่ด้วยหรือไม่ก็ตาม โดยยื่นภายในเดือนกันยายนของปีภาษีนั้น และภาษีที่เสียนี้นำไปเป็นเครดิตหักออกจากภาษีสิ้นปีได้

2. "ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสิ้นปี" เป็นการยื่นแบบแสดงรายการเงินได้พึงประเมินที่ได้รับแล้ว ในระหว่างปีภาษี โดยยื่นภายในเดือนมีนาคมของปีถัดไป

การยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90  91 ผ่านอินเทอร์เน็ต

ขั้นตอนการยื่นแบบฯ

1. เข้า web site ของกรมสรรพากรที่
www.rd.go.th

2. เลือกรายการบริการยื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ต

3. เลือกรายการบริการยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90 หรือ ภ.ง.ด. 91 แล้วแต่กรณี

4. ถ้าเข้าสู่การใช้บริการครั้งแรก ให้เลือกรายการลงทะเบียนก่อน เมื่อได้ลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว ระบบจะแสดง หมายเลขผู้ใช้ และรหัสผ่านบนหน้าจอ

5. เข้าระบบโดยบันทึก หมายเลขผู้ใช้และรหัสผ่าน

6. ป้อนรายการข้อมูล ได้แก่ รายการเงินได้ ค่าลดหย่อน เงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีหัก ณ ที่จ่าย ฯลฯ  แล้ว คลิก "ตกลง" เพื่อยืนยันการยื่นแบบฯ

7. เมื่อได้ตรวจสอบรายการข้อมูลที่บันทึกและสั่งให้ระบบ "คำนวณภาษีแล้ว"

     7.1 กรณีไม่มีภาษีต้องชำระ

         (1) โปรแกรมจะแจ้งผลการรับแบบและหมายเลขอ้างอิง เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการยื่นแบบฯ

         (2) กรมสรรพากรจะส่งใบเสร็จรับเงินให้ตามที่อยู่ที่ได้ลงทะเบียนไว้

     7.2 กรณีมีภาษีต้องชำระ

         (1) หากเลือกวิธีชำระภาษีผ่าน e-payment ระบุนาคารที่ท่านใช้บริการอยู่ และดำเนินการตามขั้นตอนของ ธนาคารนั้น

         (2) หากเลือกวิธีชำระภาษีผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของธนาคาร (1) ระบบจะแจ้งเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร รหัส ควบคุม และจำนวนภาษีที่ต้องเสีย เพื่อใช้เป็นข้อมูลนำไปชำระภาษีผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของธนาคารต่อไป เพื่อความสะดวกและถูกต้อง โปรดสั่งพิมพ์หรือจดข้อมูลดังกล่าวไว้ด้วย

         (3) หากเลือกวิธีชำระภาษี ณ เคาน์เตอร์ ไปรษณีย์อัตโนมัติ (Pay at Post ) ระบบจะแจ้งรายการข้อมูลเช่นเดียวกับ (2) เพื่อใช้เป็นข้อมูลนำไปชำระภาษี ณ ที่ทำการไปรษณีย์ทุกแห่ง (ยกเว้น ปณ. โสกเชือก จ. ร้อยเอ็ด และ ปณ. ชุมแสงสงคราม จ.พิษณุโลก

 
ขั้นตอนการชำระภาษี

เมื่อได้ทำรายการยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 ภ.ง.ด.91 ผ่านอินเทอร์เน็ตเรียบร้อยแล้ว และเป็นกรณีที่มีภาษีต้องชำระ ผู้ใช้บริการจะต้องชำระภาษีทั้งจำนวนในวันใดก็ได้ภายในกำหนดเวลายื่นแบบ โดยมีทางเลือกในการชำระภาษีวิธีใดวิธีหนึ่ง ดังนี้


1. การชำระภาษีผ่านบริการอิเล็กทรอนิกส์ของธนาคารพาณิชย์

1.1 การชำระภาษีผ่าน e-payment เป็นระบบการชำระเงินพร้อมกับการยื่นรายการข้อมูลตามแบบ


(1) ผู้ใช้บริการต้องทำความตกลงกับธนาคารไว้แล้ว

(2) เลือกธนาคารที่ต้องการสั่งโอนเงินจากบัญชีเงินฝากธนาคารเพื่อชำระภาษี

(3) ทำรายการโอนเงินตามขั้นตอนของธนาคาร

(4) เมื่อทำรายการโดยครบถ้วนแล้วโปรแกรมจะแจ้ง หมายเลขอ้างอิง การยื่นแบบฯ และชำระภาษีให้

(5) กรมสรรพากรจะส่งใบเสร็จรับเงินทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตามที่อยู่ที่แสดงในแบบให้โดยเร็ว


1.2
การชำระวิธีอื่น


(1) เลือกบริการชำระภาษี


(2) ป้อนข้อมูลหมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษี  รหัสควบคุม และจำนวนภาษีที่ต้องชำระที่ได้จากโปรแกรมการยื่นแบบฯ ผ่านอินเทอร์เน็ต

(3) หากข้อมูลตามข้อ (2) ถูกต้องธนาคารจะโอนเงินจากบัญชีเงินฝากของท่านเข้าบัญชีกรมสรรพากรเพื่อชำระภาษี


(4) กรมสรรพากร จะส่งใบเสร็จรับเงินทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตามที่อยู่ที่ได้ลงทะเบียนไว้ในแบบฯให้โดยเร็ว

หมายเหตุ กรณีชำระผ่านเครื่อง ATM ต้องเป็นเครื่อง ATM ของธนาคารผู้ออกบัตรเท่านั้น

 


2. การชำระเงินทางไปรษณีย์ Pay at Post
ให้นำรายการข้อมูลที่ได้รับจากระบบได้แก่ เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร รหัสควบคุม จำนวนเงินภาษี ไปชำระเงินภาษีอากรได้ ณ ที่ทำการไปรษณีย์ทั่วประเทศ (ยกเว้น ปณ. โสกเชือก จ.ร้อยเอ็ด และ ปณ.ชุมแสงสงคราม จ. พิษณุโลก)   กรมสรรพากรจะส่งใบเสร็จรับเงินทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตามที่อยู่ที่ได้ลงทะเบียนไว้ให้โดยเร็ว


เงื่อนไขการใช้บริการยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90  ภ.ง.ด. 91

1. เป็นบริการยื่นแบบ ภ.ง.ด.91 สำหรับผู้มีเงินได้จากการจ้างแรงงานประเภทเดียวเป็นบริการยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 สำหรับผู้มีเงินได้กรณีทั่วไป

2. เป็นผู้มีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรและมีเลขประจำตัวประชาชน (กรณีมีสัญชาติไทย)

3. เป็นแบบฯ ที่ไม่ได้ขอคืนภาษี

4. เป็นการยื่นแบบฯ และชำระภาษีตลอด 24 ชม.ของทุกวันเว้นแต่วันที่ 31 มีนาคม 2546 จะปิดการให้บริการเวลา 22.00 น.

5. เป็นการยื่นแบบฯ ภายในกำหนดเวลาและชำระภาษีทั้งจำนวนในคราวเดียวเท่านั้น

6. กรณีชำระผ่าน ATM ต้องเป็นเครื่อง ATM ของธนาคารผู้ออกบัตรกัน

7. กรณีชำระภาษีผ่าน e-payment จะต้องทำความตกลงกับธนาคารก่อน

 

หมายเหตุ หากมิได้ชำระภาษีภายในกำหนดเวลาจะถือว่าท่านยังมิได้ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90  ภ.ง.ด.91 สำหรับปีภาษี 2545 ท่านยังคงมีหน้าที่ไปยื่นแบบ ภ.ง.ด.90  ภ.ง.ด.91 และชำระภาษี ณ สำนักงานสรรพากรเขต หรือสำนักงานสรรพากรอำเภอ

 

_________________________________________________________________________________________

 

ยื่นแบบแสดงรายการได้ที่ไหน ?
 
1.

สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา (เดิมเรียกว่า สำนักงานสรรพากรเขต/อำเภอ)
สำหรับการยื่นแบบฯ ภ.ง.ด.90 หรือ ภ.ง.ด.91 ผู้มีเงินได้สามารถยื่นแบบฯ ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาทุกแห่ง
 

   
2.

ธนาคารพาณิชย์ไทย และสาขาที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ หรือต่างจังหวัด สำหรับการยื่นแบบฯ ระหว่าง
วันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 31 มีนาคม เท่านั้น และมีภาษีที่ต้องชำระพร้อมกับการยื่นแบบฯ ดังนี้

2.1 ธนาคารพาณิชย์ไทย (ยกเว้น บมจ.ธนาคารกรุงไทย) มีหลักเกณฑ์ดังนี้

(1) ใช้แบบ ภ.ง.ด.90 หรือแบบ ภ.ง.ด.91 ฉบับที่พิมพ์ชื่อ ที่อยู่ ฯลฯ ที่ กรมสรรพากร จัดทำขึ้น และจัดส่งให้

(2) มีเงินภาษีต้องชำระ พร้อมกับการยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 หรือแบบ ภ.ง.ด.91

 

2.2 ธนาคารกรุงไทย มีหลักเกณฑ์ดังนี้

(1) มีเงินภาษีต้องชำระ โดยต้องชำระทั้งจำนวน

(2) ไม่มีเงินภาษีต้องชำระ หรือขอคืนเงินภาษี


 

   
3.

ที่ทำการไปรษณีย์ สำหรับการยื่นแบบฯ ระหว่างวันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 31 มีนาคม เท่านั้น มีหลักเกณฑ์ดังนี้

3.1
 
ผู้มีเงินได้มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพมหานคร
   
3.2 ยื่นแบบฯ ภ.ง.ด.90 หรือ ภ.ง.ด.91 โดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน พร้อมแนบเช็ค (ประเภท ข. ค. หรือ ง.) หรือ ธนาณัติ (ตามจำนวนเงินภาษีที่ต้องชำระทั้งจำนวน) โดยส่งไปยัง
   
 

สำนักบริหารการคลังและรายได้
กรมสรรพากร อาคารกรมสรรพากร
เลขที่ 90 ซอยพหลโยธิน 7 ถนนพหลโยธิน
เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400



 
   
3.3 กรมสรรพากรจะถือเอาวันที่ลงทะเบียนไปรษณีย์เป็นวันรับแบบและชำระภาษี และจะส่งใบเสร็จรับเงินให้แก่ผู้ยื่นแบบฯ ทางไปรษณีย์ลงทะเบียน
   
3.4 กรณีผู้มีเงินได้ที่มีภูมิลำเนา อยู่ในต่างจังหวัด หรือประสงค์จะขอ ชำระภาษีเป็นงวด จะยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 หรือ ภ.ง.ด.91 โดยส่งทาง ไปรษณีย์ลงทะเบียนไม่ได้
   
4.
Internet ทาง Web Site ของกรมสรรพากร ที่ www.rd.go.th โดยชำระภาษี ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ของธนาคารพาณิชย์ หรือชำระผ่าน e-payment หรือโดยวิธีอื่น ได้แก่ ATM, Internet Banking, Tele-Banking, Mobile Banking, Counter Service (ของธนาคาร), เคาน์เตอร์เซอร์วิส และ Pay at Post (ไปรษณีย์)

 

_________________________________________________________________________________________

 

 
การชำระภาษีด้วยวิธีใดบ้าง ?
 
       การชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา นอกจากผู้เสียภาษี จะชำระภาษีโดยการ ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายแล้ว ถ้าในการยื่นแบบ แสดงรายการ และคำนวณภาษี ตามแบบแสดงรายการ ที่ยื่นนั้น มีภาษีที่ต้องชำระ หรือต้องชำระเพิ่มเติมอีก ก็ให้ชำระ หรือชำระเพิ่มเติม ต่อเจ้าหน้าที่สรรพากร พร้อมกับ การยื่นแบบนั้น โดยเจ้าหน้าที่ผู้รับชำระ จะออกหลักฐานใบเสร็จ แสดงการรับเงินภาษี และถือเป็นหลักฐาน แสดงการยื่นแบบฯ ให้กับ ผู้ยื่นแบบแสดงรายการ ทุกราย การชำระภาษีเลือกวิธีการชำระได้ดังนี้
 
1.

ชำระด้วยเงินสด
 

   
2.
ชำระด้วยบัตรเครดิตกรุงไทย (KTC)
ได้เฉพาะที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตกรุงเทพมหานคร  (โดยผู้ถือบัตรเครดิตเป็นผู้ชำระค่าธรรมเนียม)
   
3.

ชำระด้วยเช็คหรือดราฟต์

3.1 เช็คที่ชำระต้องเป็นเช็ค 4 ประเภท ได้แก

(1) เช็คธนาคารแห่งประเทศไทย (เช็คประเภท ก.)

(2) เช็คที่มีธนาคารค้ำประกัน (เช็คประเภท ข.)

(3) เช็คที่ธนาคารเซ็นสั่งจ่าย (เช็คประเภท ค.)

(4) เช็คที่ผู้มีหน้าที่ชำระเงินภาษีอากรเป็นผู้เซ็นสั่งจ่าย และใช้ชำระโดยตรง (เช็คประเภท ง.)

การใช้เช็คประเภท ง. ให้ปฏิบัติดังนี้

  ( ก ) กรณีใช้ชำระภาษี ในกรุงเทพมหานคร และในจังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรสาคร (เฉพาะอำเภอเมือง สมุทรสาคร และ อำเภอกระทุ่มแบน) จังหวัดนครปฐม (เฉพาะอำเภอสามพราน) และ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (เฉพาะอำเภอบางปะอิน) ต้องเป็นเช็ค ของธนาคาร หรือสาขาธนาคาร ซึ่งตั้งอยู่ใน ท้องที่ใด ท้องที่หนึ่งข้างต้นเท่านั้น
     
  ( ข ) กรณีใช้ชำระภาษี ในจังหวัดอื่นนอกจาก (ก) ให้ติดต่อ สำนักงานสรรพากร พื้นที่สาขาท้องที่ ที่รับแบบฯ ก่อนใช้เช็คชำระภาษี

 

3.2 การสั่งจ่ายเช็คหรือดราฟต์ ให้ขีดคร่อม และสั่งจ่ายดังนี้

(1) ในกรุงเทพมหานคร ให้สั่งจ่าย “กรมสรรพากร” กับขีดฆ่าคำว่า “ผู้ถือ” และหรือ “ตามคำสั่ง” ออก

(2) ในต่างจังหวัด

  ( ก ) กรณียื่นแบบ ภ.ง.ด.90 หรือ ภ.ง.ด.91 และชำระภาษี ที่สำนักงาน สรรพากรพื้นที่สาขา ให้ติดต่อ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ สาขาท้องที่ที่ยื่นแบบฯ ก่อนสั่งจ่ายเช็ค
     
  ( ข ) กรณียื่นแบบ ภ.ง.ด.90 หรือ ภ.ง.ด.91 และชำระภาษีที่ธนาคาร
    - กรณียื่นแบบฯ ที่ บมจ.ธนาคารกรุงไทย ให้สั่งจ่าย “กรมสรรพากร” กับขีดฆ่าคำว่า “ผู้ถือ” และ หรือ “ตามคำสั่ง” ออก
     
    - กรณียื่นแบบฯ ที่ ธนาคารอื่น ๆ นอกเหนือ จาก บมจ.ธนาคารกรุงไทย ให้สั่งจ่าย “สรรพากรพื้นที่สาขา... (ระบุชื่อพื้นที่สาขานั้น)” กับขีดฆ่าคำว่า “ผู้ถือ” และหรือ “ตามคำสั่ง” ออก

 

 

หลักเกณฑ์การใช้เช็คหรือดราฟต์
 

( 1 ) กรณียื่นที่ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา เช็คทุกประเภทหรือดราฟต์ ต้องลง วันที่ในเช็ค ในวันที่ยื่นแบบฯ หรือ ก่อนวันที่ที่ยื่นแบบฯ ไม่เกิน 15 วัน สำหรับเช็คประเภท ก. ข. ค. หรือดราฟต์ หรือไม่เกิน 7 วัน สำหรับเช็คประเภท ง.
   
( 2 ) กรณียื่นที่ธนาคาร/ที่ทำการไปรษณีย์ เช็คทุกประเภท หรือดราฟต์ที่ชำระภาษี ต้องลงวันที่ในเช็คในวันที่ยื่นแบบฯ หรือก่อนวันที่ยื่นแบบฯ ไม่เกิน 7 วัน
   
( 3 ) ห้ามใช้เช็คลงวันที่ล่วงหน้า
   
( 4 ) ห้ามใช้เช็คหรือดราฟต์โอนสลักหลัง
   
( 5 ) ห้ามใช้เช็คหรือดราฟต์ที่มีจำนวนเงินสูงกว่าจำนวนภาษีอากรที่ต้องชำระ
   
( 6 ) การชำระภาษี จะถือว่าสมบูรณ์ ต่อเมื่อ กรมสรรพากร ได้รับเงิน ตามเช็ค หรือ ดราฟต์ครบถ้วนแล้ว
   
   
4.

ชำระด้วยธนาณัติ

1
 
ผู้มีเงินได้ที่ยื่นแบบฯ ภ.ง.ด.90 หรือ ภ.ง.ด.91 ต้องมีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพมหานคร
   
2 ส่งธนาณัติเท่ากับจำนวนเงินภาษีที่ต้องชำระ ไปพร้อมกับการยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 หรือ ภ.ง.ด.91 (ห้ามหักค่าธรรมเนียม ในการส่งธนาณัติ) โดยสั่งจ่าย
   
 

“ผู้อำนวยการสำนักบริหารการคลังและรายได้ กรมสรรพากร”
ปท.กระทรวงการคลัง



 
   

 

_________________________________________________________________________________________

 

หากยื่นแบบแล้วมีภาษีต้องชำระจะขอผ่อนชำระภาษีได้หรือไม่ ?


     ถ้ามีภาษีที่ต้องชำระจำนวนตั้งแต่ 3,000 บาทขึ้นไป ทั้งภาษีครึ่งปีและภาษีสิ้นปี ผู้เสียภาษีมีสิทธิ ขอผ่อนชำระภาษีได้เป็น 3 งวดเท่า ๆ กัน โดยไม่ต้องเสียเงินเพิ่มใดๆ ผู้เสียภาษีอาจติดต่อขอผ่อนชำระได้ที่ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาโดยใช้แบบบ.ช. 35 จำนวน 1 ชุด 3 แผ่น ข้อความเหมือนกันดังนี้

          งวดที่ 1    ชำระพร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการภายในวันที่ 30 กันยายน หรือวันที่ 31 มีนาคม

          งวดที่ 2    ชำระภายใน 1 เดือนนับแต่วันที่ต้องชำระงวดที่ 1

          งวดที่ 3   ชำระภายใน 1 เดือนนับแต่วันที่ต้องชำระงวดที่ 2

 

      ถ้าภาษีงวดใดงวดหนึ่งมิได้ชำระภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ผู้เสียภาษีหมดสิทธิที่จะชำระภาษีเป็น รายงวด และต้องเสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีงวดที่เหลือ

 

 

_________________________________________________________________________________________

 

 

ถ้าไม่ชำระในกำหนดเวลาหรือชำระไม่ถูกต้องจะมีความรับผิดอย่างไรบ้าง?

 

1. กรณีไม่ชำระภาษีภายในกำหนดเวลา

      
จะต้องเสียเงินเพิ่มร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระนั้น นับแต่วันพ้นกำหนดเวลาการยื่นรายการจนถึงวันชำระภาษี เว้นแต่กรณีที่ได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากร ให้ขยายกำหนดเวลาชำระภาษีได้ เงินเพิ่มเสียร้อยละ 0.75

2. กรณีเจ้าพนักงานตรวจสอบออกหมายเรียก

     
 และปรากฏว่ามิได้ยื่นแบบแสดงรายการไว้หรือยื่นแบบแสดงรายการไว้ แต่ชำระภาษีขาดหรือต่ำไป นอกจากจะต้องรับผิดชำระเงินเพิ่มตามข้อ 1 แล้ว ยังจะต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับอีก 1 เท่า หรือ 2 เท่าของเงินภาษีที่ต้องชำระแล้วแต่กรณี เงินเบี้ยปรับดังกล่าวอาจลดหรืองดได้ตามระเบียบที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี

space
 
Navigator :  กรณีไม่ชำระภาษีตามกำหนดเวลา  

 

_________________________________________________________________________________________

อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เมื่อได้ยอดเงินได้สุทธิแล้ว นำไปคำนวณภาษีตามอัตราภาษี ดังนี้

 

 

เงินได้สุทธิ

ช่วงเงินได้สุทธิ

แต่ละขั้น

อัตราภาษี

ร้อยละ

ภาษีแต่ละขั้น

เงินได้สุทธิ

ภาษีสะสม

สูงสุดของขั้น

1 - 150,000

150,000

ได้รับยกเว้น

-

-

150,001 - 500,000

350,000

10

35,000

35,000

500,001 - 1,000,000

500,000

20

100,000

135,000

1,000,001 - 4,000,000

3,000,000

30

900,000

1,035,000

4,000,001 บาทขึ้นไป

 

37

 

 

 

หมายเหตุ :- การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เงินได้สุทธิเฉพาะส่วนไม่เกิน 150,000 บาท มีผลใช้บังคับสำหรับเงินได้สุทธิที่เกิดขึ้นในปีพ.ศ. 2551 เป็นต้นไป ( พระราชกฤษฎีกา ( ฉบับที่ 470 ) พ.ศ. 2551 )

 

_________________________________________________________________________________________

 

 
การบริจาคเงินภาษีให้แก่พรรคการเมือง ?
 
       ตั้งแต่ปีภาษี 2551 เป็นต้นไป บุคคลธรรมดา ที่มีสัญชาติไทย (ไม่รวมถึง ห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือ คณะบุคคล ที่มิใช่ นิติบุคคล และกองมรดก ที่ยังไม่ได้แบ่ง) สามารถบริจาค เงินภาษี ให้แก่พรรคการเมืองได้ ตามมาตรา 58 แห่งพระราชบัญญัต ิประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2550 โดยแสดง เจตนาบริจาค เงินภาษี ให้แก่พรรคการเมือง พร้อมการยื่นแบบ แสดงรายการภาษี ประจำปี โดยมีหลักเกณฑ์ และวิธีการ ตามประกาศอธิบดีฯ ภาษีเงินได้ ( ฉบับที่ 176 ) ดังนี้
 
1.

ผู้มีเงินได้ เมื่อคำนวณภาษี ตามแบบ ภ.ง.ด.90 หรือ ภ.ง.ด.91 แล้ว มีเงินภาษี ที่ต้องชำระ ตั้งแต่ 100 บาท ขึ้นไป
 

   
2.
ผู้มีเงินได้ ที่มีสิทธิบริจาค ต้องแสดง เจตนาไว้ใน ช่องที่กำหนดไว้ ในแบบ ภ.ง.ด.90 หรือ ภ.ง.ด.91 โดยต้อง ระบุให้ชัดเจนว่า ประสงค์จะบริจาค หรือ ไม่บริจาค และระบุ รหัสพรรคการเมือง ที่ต้องการบริจาค หากไม่ระบ ุความประสงค์ หรือไม่ระบุ รหัสพรรคการเมือง ถือว่าไม่ได้แสดง เจตนาบริจาค ตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
   
 
  ( 1 ) ระบุรหัสพรรคการเมือง ที่ต้องการบริจาค ได้เพียง 1 พรรคการเมือง หากแสดงเจตนา เกินกว่า 1 พรรคการเมือง ถือว่า ไม่ประสงค์ จะบริจาคให้พรรคการเมืองใด
     
  ( 2 ) เมื่อแสดงเจตนาบริจาค ให้แก่พรรคการเมืองใดแล้ว ห้ามปลี่ยนแปลง
     
  ( 3 ) พรรคการเมือง ที่ผู้บริจาค จะแสดงเจตนา บริจาคเงินภาษี ให้ได้ในปีภาษีใด จะต้องเป็น พรรคการเมือง ที่มีชื่ออยู่ใน ทะเบียนพรรคการเมือง ในปีภาษีนั้น หากพรรคการเมือง ที่แสดงความประสงค์ บริจาคเงินภาษี ให้สิ้นสภาพ เลิก หรือยุบ ตามกฎหมาย ในปีภาษีใด ให้ถือเสมือนว่า ไม่มีพรรคการเมืองนั้น ที่จะได้รับการแสดงเจตนา บริจาคเงินภาษีในปีภาษีนั้น
     
    สามารถค้นหา รหัสพรรคการเมือง ได้จากเว็บไซต์สำนักงานคณะกรรมการเลือกตั้ง www.ect.go.th หรือจากเว็บไซต์กรมสรรพากร www.rd.go.th
   
3.
การแสดงเจตนา บริจาคเงินภาษีให้แก่ พรรคการเมืองตาม 2. ห้าม มิให้นำไป หักเป็นค่าลดหย่อน ตามมาตรา 47 แห่งประมวลรัษฎากร
   
4.
ผู้มีเงินได้ ซึ่งมีสิทธิระบุการแสดงเจตนา บริจาคเงินภาษี ให้แก่พรรคการเมือง ในแบบ ภ.ง.ด.90 หรือ ภ.ง.ด.91 ให้ถือตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
   
 
  ( 1 ) กรณีสามีหรือภริยามีเงินได้ฝ่ายเดียว ให้ฝ่ายที่มีเงินได้เป็นผู้ระบุความประสงค์ในแบบฯ
     
  ( 2 ) กรณีสามี หรือภริยา ต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ และแยกยื่นแบบฯ หรือรวมยื่นแบบฯ แต่แยกคำนวณภาษี ให้สามี และภริยา ต่างฝ่ายต่าง มีสิทธิระบุความประสงค์ในแบบฯ
     
  ( 3 ) กรณีสามี หรือภริยา ต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ และรวมยื่นแบบฯ รวมทั้ง รวมคำนวณภาษี
ให้ต่างฝ่าย ต่างมีสิทธิ ระบุความประสงค์ ของตนเอง ในแบบฯ โดยกรอก รายละเอียด การคำนวณ แยกรายการบุคคลใน "ใบแนบ ภ.ง.ด.90/91 ปีภาษี 2551 รายละเอียด คำนวณ ภ.ง.ด.90/91 แยกรายบุคคล กรณีคู่สมรส รวมคำนวณภาษี และบริจาคภาษี แก่พรรคการเมือง" (แล้วแต่กรณี) ซึ่งสามารถ Download ได้จาก เว็บไซต์กรมสรรพากร HOT MENU > Download > บริการอิเล็กทรอนิกส์ > แบบแสดงรายการภาษี แบบคำร้อง/คำขอต่างๆ > ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา "
 
     
     
  อนึ่ง หากผู้มีเงินได้ คำนวณภาษี ตามแบบ ภ.ง.ด.90 หรือ ภ.ง.ด.91 แล้ว มีเงินภาษี ที่ต้องชำระ ตั้งแต่ 100 บาท ขึ้นไป และมีภาษีหัก ณ ที่จ่าย ไว้เกินกว่า เงินภาษีที่ต้องชำระ เมื่อแจ้งความประสงค์ ขอคืนเงินภาษี ที่ชำระไว้เกิน พร้อมทั้ง แสดงเจตนา บริจาคเงินภาษี ให้แก่พรรคการเมืองด้วย กรมสรรพากร จะหักเงินบริจาคดังกล่าว จากเงินภาษี ที่ต้องชำระ ดังนั้น การบริจาค เงินภาษีดังกล่าว ไม่มีผลต่อเงินภาษี ที่ขอคืนไว้แต่อย่างใด




ข้อมูลเกี่ยวกับภาษีอากร

ภาษีเงินได้นิติบุคคล article
ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีธุรกิจเฉพาะ
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ฯ
อากรแสตมป์
เลขประจำตัวผู้เสียภาษี
สิทธิและหน้าที่ผู้เสียภาษี
การอุทธรณ์ภาษีอากรฯ
SMEs



Copyright © 2010 All Rights Reserved.

บริษัท บี พี แอคเคาน์แต้นท์ จำกัด
_____________________________________________________

สำนักงานใหญ่ :  เลขที่ 53 ถนนติวานนท์ ต.บางกระสอ  อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000

โทรศัพท์ :  0 2950 5560 ,โทรสาร : 0 2950 5560 ต่อ 18, มือถือ :  08 7505 9449, 08 9666 2871
_____________________________________________________

Email : bpaccountant2550@gmail.com
ID Line : bpaccountant